23 พฤศจิกายน 2551

การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนปฏิบัติการเครือข่าย ทสม.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนปฏิบัติการเครือข่าย ทสม. ให้กับคณะกรรมการ ทสม. และสมาชิก ของจังหวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 16 จังหวัดคือ นครสวรรค์,อุทัยธานี, ลพบุรี, ชัยนาท, อ่างทอง, สระบุรี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, นนทบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, กาญจนบุรี, เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ณ ไม้งามริเวอร์ไซด์รีสอร์ท อ. ศรีประจันต์ จ. สุพรรณบุรี โดยมีประธาน ทสม. สุพรรณบุรี พี่ตุ๊ย นายสุรัชต์ ธวัชโยธิน เป็นเจ้าภาพตลอดรายการ ในระหว่างวันที่ 13 - 14 พฤศจิกายน 2551


โดยมี อ. สัญชัย สูติพันธ์วิหาร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรดำเนินรายการ " แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการเครือข่าย ทสม. "


ในครั้งนี้มีการตั้งคณะกรรมการ ทสม. จังหวัดเป็นคณะทำงานระดับภาค จังหวัดละ 4 คน โดยทางภาค 8 ซึ่งประกอบไปด้วย 5 จังหวัดคือ ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธุ์ ได้ให้ทางพี่สุรชัย ประธานฯ ราชบุรี เป็นประธานประสานงานของภาค 8 ส่วนจังหวัดเพชรบุรีมีกรรมการ 4 คนดังนี้1. นายนิวัฒน์ มั่นหมาย 2. นางสาวสุริยา ปิ่นหิรัญ 3. จ.ส.อ. ธนวิน ปิ่นหิรัญ 4. นายกิติณรงค์ เกิดรอด

13 ตุลาคม 2551

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่าย ทสม. ระดับตำบล จังหวัดเพชรบุรี

เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทสจ.) จังหวัดเพชรบุรี ร่วมกันจัดโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่าย ทสม. ระดับตำบล ของจังหวัดเพชรบุรี โดยนำแกนนำ ทสม. ในระดับตำบลของแต่ละอำเภอ ๆ ละ 5 คน เข้าร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และเรียนรู้องค์ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเสริมสร้างกิจกรรมสัมพันธ์เชื่อมความรักความสามัคคีกัน ระหว่างสมาชิกแกนนำ ทสม. ในแต่ละอำเภอ โดยไปจัดที่ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ในระหว่างวันที่ 5-6 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (คลิกเพื่อชมภาพกิจกรรมต่าง ๆ )
โดยมี อ. สุริยา ปิ่นหิรัญ (ป้านิ่ม) นายพิชัย เรืองวิชา (พี่เล็ก) จ.ส.อ. ธนวิน ปิ่นหิรัญ (ปู่หนุ่ย) และนายนิวัฒน์ มั่นหมาย (พี่ง้วน) เป็นวิทยากรดำเนินรายการ มีหัวหน้านิพล ไชยสาลี ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน และมีเจ้าหน้าที่จาก ทสจ. เพชรบุรี นำโดย น.ส. ขวัญเนตร สบายใจ (น้องขวัญ) และ น.ส. นัยนา เยี่ยวเพ็ง (น้องแต๋ม) เป็นผู้ประสานงานติดต่อ และคอยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ


หัวหน้านิพล ไชยสาลี เป็นประธานเปิดงาน

12 ตุลาคม 2551

กิจกรรมบวชต้นไม้เพื่อการอนุรักษ์

คณะกรรมการ ทสม. จังหวัดเพชรบุรี ได้เข้าร่วมงานทอดผ้าป่าการศึกษาและบวชต้นไม้เพื่อการอนุรักษ์ ณ บ้านหนองเขาอ่อน หมู่ที่ 4 ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยร่วมกับชมรมผู้สูงอายุตำบลกลัดหลวง โรงเรียนบ้านหนองเขาอ่อน มีคุณลุงเพ็ญ เดชคุ้ม หนึ่งในกรรมการ ทสม. ระดับจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยจัดให้มีงานทำบุญเลี้ยงพระ และทอดผ้าป่าการศึกษา เพื่อเป็นทุนอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเขาอ่อน และการบวชต้นซิก อายุกว่า 30 ปี กับต้นโพธิ์ อายุกว่า 50 ปี โดยคณะสงฆ์ร่วมกับผู้สูงอายุ ต. กลัดหลวง คณะครู นักเรียน ร.ร. บ้านหนองเขาอ่อน คณะกรรมการ ทสม. จังหวัดเพชรบุรี ตลอดจนชาวบ้านใกล้เคียง ร่วมงานในครั้งนี้


ทำบุญเลี้ยงภัตตาหารเพลพระสงฆ์ ณ โรงเรียนบ้านหนองเขาอ่อน

นายนิวัฒน์ มั่นหมาย รองประธานฯ ทสม. เพชรบุรี นำจุดเทียน-ธูป บูชาพระพุทธ และถวายภัตตาหาร

นักเรียนตัวน้อย ร.ร. บ้านหนองเขาอ่อน และผู้สูงอายุ ต. กลัดหลวง

ต้นซิกใหญ่อายุกว่า 30 ปี ริมถนน

พระสงฆ์ทำพิธีบวชต้นซิกอายุกว่า 30 ปี

ร่วมบวชต้นซิก (1)

ร่วมบวชต้นซิก (2)

ร่วมบวชต้นซิก (3)

ร่วมบวชต้นซิก (4) ลุงเพ็ญ, ปู่หนุ่ย, ลุงคราม

ร่วมบวชต้นซิก (5) ลุงเพ็ญ, ลุงคราม, นิวัฒน์, ป้านิ่ม

ร่วมบวชต้นซิก (6) นักเรียน ร.ร. บ้านหนองเขาอ่อน

ร่วมบวชต้นโพธิ์อายุกว่า 50 ปี (1)

ร่วมบวชต้นโพธิ์ (2)


22 กันยายน 2551

การประชุมสัมมนา ทสม. ระดับชาติ ปี 2551 ที่อุดรธานี

ทสม. จังหวัดเพชรบุรี นำคณะเข้าร่วมการประชุมสัมมนาเครือข่าย ทสม. ระดับชาติ ที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 18 ชีวิต ระหว่างวันที่ 8-10 กันยายน 2551 โดยมีพณฯ อนงค์วรรณ เทพสุทิน รมว. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน


" พลังทสม. พลังลดโลกร้อน "

พณฯ อนงค์วรรณและคณะ ถ่ายรูปร่วมกับเยาวชนเห่เรือบกของจังหวัดเพชรบุรี (น้องโฟล์ค+น้องละเอียด)

นิวัฒน์,ป้านิ่ม,ละเอียด,ปู่หนุ่ย (หน้าห้องประชุมวันแรก)

ผญ.สมบุญ,พี่สำราญ และคณะบ้านดอนผิงแดด (เลี้ยงรับรองวันแรก)

ลุงเพ็ญกับพี่แดงในห้องประชุม "พลังทสม. พลังลดโลกร้อน" (8 ก.ย.51)

น้องเล็ก,พี่แดง,ลุงเพ็ญ,น้องแต๋ม (หลังงานเลี้ยงรับรอง)

พี่สมเกียรติ (ทสจ. เพชรบุรี) กับดร. กฤษณา (ผอ.สสภ. 8)

2 ทสม. น้อย (น้องละเอียดกับน้องโฟล์ค)

พี่สำราญ กับพี่ปฐมเกียรติ ( ประธานฯ โคราช) สนใจชุดผลิตไบโอดีเซลขนาดเล็ก ( ผลิตจากน้ำมันพืชใช้แล้ว)

น้องละเอียด, พี่สมเกียรติ, น้องขวัญ

การละเล่นเห่เรือบก ที่ ทสม. เพชรบุรีนำไปเสนอในงานการประชุมสัมมนา "พลังทสม. พลังลดโลกร้อน"

ลุงเพ็ญ เดชคุ้ม กับนิวัฒน์ มั่นหมาย
รูปภาพการเข้าร่วมงานการประชุมสัมมนาเครือข่าย ทสม. ระดับชาติ ประจำปี 2551

ณ โรงแรมเจริญศรี แกรนท์โฮเต็ล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ( คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพอื่น ๆ )

17 สิงหาคม 2551

ราชพฤกษ์ – ต้นไม้ประจำชาติ และความหมายอันเป็นมงคล

ราชพฤกษ์ – ต้นไม้ประจำชาติ และความหมายอันเป็นมงคล



“ราชพฤกษ์” เป็นชื่อต้นไม้ประจำชาติ ถือเป็นไม้มงคลที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย เนื่องจากมีดอกเป็นพวงระย้า สีเหลืองสด อันเป็นสีแห่งพระพุทธศาสนา และนอกจากนี้ สีเหลืองยังเป็นสีประจำวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล
อดุลยเดช มหาราช พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี

ราชพฤกษ์ หรือ คูน (Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้

ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก

ชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ)
ทางภาคเหนือ เรียกว่า ลมแล้ง
ทางภาคใต้ เรียกว่า อ้อดิบ
ในปัตตานี เรียกว่า ลักเกลือ หรือ ลักเคย
ชาวกะเหรี่ยงและในกาญจนบุรี เรียกว่า กุเพยะ

การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อย ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 4 ปี สามารถทนต่อสภาพธรรมชาติได้
ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
การขยายพันธุ์ การตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
โรค ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร
ศัตรู หนอนเจาะลำต้น (Stem boring caterpillars)จะมีอาการ ลำต้นหรือยอดเป็นรู เป็นรอยเจาะทำให้กิ่งหักงอ
การป้องกัน รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หรือกำจัดแมลงพาหะ ใช้ยาเช่นเดียวกับการกำจัด
การกำจัด ใช้ยาไดเมทโธเอท หรือ เมโธมิล อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

สรรพคุณ
ส่วนต่างๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้
ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้
ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้
ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้
ดอก แก้แผลเรื้อรัง

ความเชื่อ
คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทาง
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น

คนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดี ดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคล

1 พฤษภาคม 2551

ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม(2)

ศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
แผนที่ความหลากหลายทางชีวภาพ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทสม. คืออะไร

ว่าด้วยอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านพ.ศ. ๒๕๔๙

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม(1)

ศูนย์บริการประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

สื่อข้อมูลสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลสื่อสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ

ภาวะโลกร้อน

"เกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้? " ปรากฏการณ์ที่ประเทศประสบกับฤดูร้อนที่ยาวนานขึ้น หรือสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในอีกหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกแสดงให้เห็นว่าภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทุกวันนี้โลกเรากำลังร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มว่าจะร้อนขึ้นเรื่อย ๆในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาถือว่าเป้นทศวรรษที่ร้อนที่สุดในรอบพันปี หลักฐานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากจากทั่วโลกบอกเราว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ก่อให้เกิดผลกระทบมากมายในแทบทุกพื้นที่ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสภาวะโลกร้อน การลดปริมาณก๊าชเรือนกระจก หรือแม้แต่ปรากฎการณ์เอลนีโน่ ล้วนเป็นเรื่องที่สามารถทำได้หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือกันตั้งแต่ในระดับระหว่างชาติ จนถึงประชาชนทั่วไป จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือการเข้าใจดการเกิดสภาวะโลกร้อนและมาดูกันว่าเราจะสามารถช่วยป้องกันสภาวะดังกล่าวกันอย่างไร

ภาวะโลกร้อนคืออะไร ?
"สภาวะโลกร้อน (Global Warming) " หมายถึง การที่ชั้นบรรยากาศตั้งแต่ผิวโลกขึ้นไปมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นอันเนื่องมากจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะสภาพของภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป้นต้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทำให้ระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้แก่ กิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำให้เกิด ก๊าชเรือนกระจก (Greenhouse Gases)อันได้แก่ ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ มีเธน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ ถูกปล่อยให้มาสู่ชั้นบรรยากาศห่อหุ้มผิวโลกมากขึ้น กั้นการสะท้อนกลับของรังสีอินฟาเรดส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 1.5-6 องศาเซลเซียส การปลดปล่อยสารเคมีบางชนิด ทำให้ชั้นโอโซนในบรรยากาศเกิดช่องโหว่และเบาบางลง รังสีจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดมะเร็งสามารถส่ิองผ่านเข้ามายังโลกมากขึ้น ทำให้เกิดอันตรายอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ภาวะเช่นนี้เรียกว่า ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโลก
อุณหภูมิของโลกมีแน้วโน้มสูงสูงขึ้นทุกปีในปี พ.ศ.2541 เป็นปีที่โลกมีอุณหภูมิสูงที่สุด และในปี พศ. 2544 ถืือเป็น ปีที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเป้นอันดับที่สอง อันเป็นผลมาจากปรากฎการณืลานินญา หรือปรากฏการณ์ที่อุณหภูฒิของพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกอุ่นขึ้นอย่างผิดปกติ ที่ผ่านมาพบว่า อุณหภูมิของโลกมีอัตราเฉลี่ยที่สูงกว่าระดับปกติอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 การเพิ่มสูงขึ้นของอุณภูมิโลกนั้นเป็นไปอย่างช้า แต่ในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดสถานการณ์และปัญหาที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ แต่ละส่วนของโลก ดังนี้
แถบขั้วโลก
ได้รับผลกระทบมากที่สุดก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้นและไหลสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุกทวีป ทำให้สัตว์ทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศน์เปลี่ยน
ทวีปยุโรป
ยุโรปใต้ ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื้นที่ลาดเอียง เกิดความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ ปัญหาอุทกภัยจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวรยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะละลายหมด
ทวีปเอเชีย
จะเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม ผลผลิตทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น สภาวะอากาศแปรปรวน อาจทำให้เกิดพายุต่าง ๆ มากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน
ทวีปอเมริกาเหนือ
อุตสาหกรรมการผลิตอาหารจะได้รับผลประโยชน์เนื่องจากอากาศที่อุ่นขึ้น ทุ่งใหญ่ของแคนนาดาและทุ่งราบใหญ่สหรัฐอเมริกาจะตายเพราะความแปรปรวนของอากาศส่งผลต่อสัตว์
รัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ
จะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา เนื่องจากระบบนิเวศที่แปรเปลี่ยนไป ธุรกิจท่องเทียวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้ไป ทัศฯียภาพที่สวยงามของทะเลจะเปลี่ยนไป

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง
นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นอีกถึง 90 เซนติเมตรในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพต่างๆหลายประการ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยประเมินไว้ว่า มีสิ่งชี้ชัดในเรื่องความเป็นไปได้ของภาวการณ์ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และอุทกภัยที่ถี่ขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้นในพื้นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะในบริเวณชายฝั่งของกรุงเทพฯที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง และอยู่เหนือระดับน้ำทะเลเพียง 1 เมตร โดย ระดับการรุกของน้ำเค็มจะเข้ามาในพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาถึง 40 กิโลเมตร ส่งผลกระทบรุนแรงต่อพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อความสมดุลของน้ำจืดและน้ำเค็มในพื้นที่ นอกจากนี้ กรุงเทพฯยังมีความเสี่ยงต่อความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำล้นตลิ่งและอุทกภัย ที่จะก่อความเสียหายกับระบบสาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัยของคนจำนวนมาก รวมถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่จะตามมา สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยประเมินไว้ว่า มีสิ่งชี้ชัดในเรื่องความเป็นไปได้ของภาวการณ์ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และอุทกภัยที่ถี่ขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้นในพื้นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะในบริเวณชายฝั่งของกรุงเทพฯที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง และอยู่เหนือระดับน้ำทะเลเพียง 1 เมตร โดย ระดับการรุกของน้ำเค็มจะเข้ามาในพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาถึง 40 กิโลเมตร ส่งผลกระทบรุนแรงต่อพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อความสมดุลของน้ำจืดและน้ำเค็มในพื้นที่ นอกจากนี้ กรุงเทพฯยังมีความเสี่ยงต่อความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำล้นตลิ่งและอุทกภัย ที่จะก่อความเสียหายกับระบบสาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัยของคนจำนวนมาก รวมถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่จะตามมา
ส่วนพื้นที่ชายฝั่งจะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อพื้นที่ชายฝั่งแตกต่างกันไปเป็นกรณี เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ชายฝั่งหลายแบบ เช่น พื้นที่ชายฝั่งที่เป็นหน้าผา อาจจะมีการยุบตัวเกิดขึ้นกับหินที่ไม่แข็งตัวพอ แต่กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ส่วนชายหาดจากเพชรบุรีถึงสงขลาซึ่งมีลักษณะชายฝั่งที่แคบจะหายไป และชายหาดจะถูกร่นเข้ามาถึงพื้นที่ราบริมทะเล
ส่วนพื้นที่ป่าชายเลนจะมีความหนาของพรรณไม้ลดลง เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะทำให้พืชตาย แอ่งน้ำเค็มลดลงและถูกแทนที่ด้วยหาดเลน ในขณะที่ปากแม่น้ำจะจมลงใต้น้ำทำให้เกิดการชะล้าง พังทลายของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดย ทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นแหล่งน้ำชายฝั่งจะมีพื้นที่เพิ่มขึ้นและอาจมีน้ำเค็มรุกเข้ามามากขึ้น
ตัวอย่างอื่นๆของพื้นที่ที่จะได้รับความเสียหาย คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก 1 เมตร พื้นที่ร้อยละ 34 ของจังหวัดจะถูกกัดกร่อนและพังทลาย ก่อให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่การเกษตรและนากุ้งในบริเวณดังกล่าวด้วย
ผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จะทำให้การระเหยของน้ำทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ ลำธาร และทะเลสาบเพิ่มมากขึ้น ยิ่งจะทำให้ฝนตกมากขึ้น และกระจุกตัวอยู่ในบางบริเวณ ทำให้เกิดอุทกภัย ส่วนบริเวณอื่นๆก็จะเกิดปัญหาแห้งแล้ง เนื่องจากฝนตกน้อยลง กล่าวคือ พื้นที่ภาคใต้จะมีฝนตกชุก และเกิดอุทกภัยบ่อยครั้งขึ้น ในขณะที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องเผชิญกับภัยแล้งมากขึ้น รูปแบบของฝนและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้วัฏจักรของน้ำเปลี่ยนแปลง ลักษณะการไหลของระบบน้ำผิวดิน และระดับน้ำใต้ดินก็จะได้รับผลกระทบด้วย ทั้งพืชและสัตว์จึงต้องปรับปรุงตัวเองเข้าสู่ระบบนิเวศที่เปลี่ยนไป ลักษณะความหลากหลายทางชีวภาพก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
ระบบนิเวศทางทะเล

ก็เป็นอีกระบบนิเวศหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และอุณหภูมิผิวน้ำที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้พืชและสัตว์ทะเลบางชนิดสูญพันธุ์ รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกสีทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
ผลกระทบต่อการเกษตรและแหล่งน้ำ
การศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ระบุว่า ในประเทศไทยมีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ปริมาณน้ำลดลง (ประมาณ 5 - 10 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งจะมีผลต่อผลผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และต้องอาศัยปริมาณน้ำฝนและแสงแดดที่แน่นอน รวมถึงความชื้นของดินและอุณหภูมิเฉลี่ยที่พอเหมาะด้วย สำหรับประเทศไทย ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อภาคการเกษตรจะไม่รุนแรงมาก เพราะพื้นที่ชลประทานจะได้รับการป้องกัน แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอาจจะรุนแรงในบริเวณที่ขาดน้ำอยู่แล้ว นอกจากนี้ ผลกระทบยังอาจเกิดขึ้นกับการทำประมง เนื่องจาก แหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี อาจแห้งขอดลงในบางฤดูกาล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ซึ่งจะทำให้จำนวนและความหลากหลายของชนิดของสัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ในแหล่งน้ำแถบลุ่มแม่น้ำโขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะลดลงอย่างต่อเนื่อง หากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงดำเนินต่อไป
เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง

จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง อากาศที่ร้อนขึ้น และความชื้นที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดบ่อยครั้งและรุนแรง จะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองบ่อยครั้งขึ้นและไม่เป็นไปตามฤดูกาล โดยภาคใต้ของประเทศซึ่งเคยมีพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านจะเกิดพายุมากขึ้น และความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นก็จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงอัตราเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของแนวโน้มอุทกภัยแบบฉับพลันด้วยเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัย และก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบนิเวศ
ภัยธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่คาดการณ์ว่าจะรุนแรงขึ้น ได้แก่ ภาวะภัยแล้ง เช่น ในช่วงกลางปี พ.ศ 2533 ประเทศไทยต้องประสบกับความแห้งแล้งรุนแรงจากปรากฏการณ์ เอล นินโญ่ ที่เชื่อกันว่าอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ไฟป่าอาจจะเกิดบ่อยครั้งขึ้นสืบเนื่องมาจากภาวะภัยแล้ง

ผลกระทบด้านสุขภาพ

อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและเหตุการณ์ตามธรรมชาติที่รุนแรงและเกิดบ่อยครั้งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและอนามัยของคนไทย โรคระบาดที่สัมพันธ์กับการบริโภคอาหารและน้ำดื่ม มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงมากขึ้น โดยภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะน้ำท่วมทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็น โรคบิด ท้องร่วง และอหิวาตกโรค เป็นต้น โรคติดต่อในเขตร้อนก็มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น และจะคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ ไข้มาลาเรีย ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากการขยายพันธุ์ของยุงจะมากขึ้นในสภาวะแวดล้อมที่ร้อนขึ้นและฤดูกาลที่ไม่แน่นอน แนวโน้มของผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงจากภัยธรรมชาติ อาจนำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร และความอดอยาก ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร และภูมิต้านทานร่างกายต่ำ โดยเฉพาะในเด็กและคนชรา

ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ

ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นไม่เพียงแต่ส่งกระทบที่รุนแรงต่อประเทศไทยในทางกายภาพเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบทางอ้อมต่อความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศชาติเช่นเดียวกัน กล่าวคือ การยุบตัวของพื้นที่ชายฝั่ง ภูมิอากาศแปรปรวน โรคระบาดรุนแรง และผลกระทบอื่นๆ ส่งผลให้มีประชากรบาดเจ็บล้มตาย ทิ้งที่ทำกิน และไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ประชาชนยังจะได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มที่ถูกสุขลักษณะระหว่างภาวะน้ำท่วม และความเสียหายที่เกิดกับระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งโดยมาก ผู้ที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจะเป็นประชาชนที่มีความยากจน และไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะป้องกันผลกระทบของภาวะโลกร้อนได้ ยกตัวอย่างเช่น การป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในพื้นที่ทำกิน อาจทำได้โดยการสร้างเขื่อน และประตูน้ำป้องกันน้ำเค็ม แต่วิธีการนี้ต้องลงทุนสูง ดังนั้นเมื่อราคาของการป้องกันสูงเกินกว่าที่ชาวนาจะสามารถรับได้ การทิ้งพื้นที่ทำกินในบริเวณที่ให้ผลผลิตต่ำจึงเป็นทางออกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ ความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญตามแนวชายฝั่งที่ยุบตัว ภัยธรรมชาติ และความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่รุนแรง ล้วนส่งผลให้ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของประเทศมีปริมาณลดลง พื้นที่ที่คุ้มค่าแก่การป้องกันในเชิงเศรษฐกิจ และพื้นที่ที่มีการพัฒนาสูง อาจได้รับการป้องกันล่วงหน้า เช่น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จำต้องมีโครงสร้างป้องกันกระแสคลื่น ซึ่งจะรุนแรงขึ้นเมื่อน้ำทะเลสูงขึ้น หรือการสร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลหรือเขื่อน เพื่อป้องกันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร และการทำนาเกลือ เป็นต้น

การป้องกันดังกล่าวนั้นจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ดังนั้น ในพื้นที่ที่ไม่คุ้มค่าที่จะป้องกันในเชิงเศรษฐกิจจะถูกละทิ้งไป ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุด เช่น การช่วยเหลือชาวนา ซึ่งจำเป็นที่จะต้องย้ายไปอยู่ที่ที่สูงขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลรุก เป็นต้น


ที่มา: http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=84612

แนวทางการแก้ไข
หลังจากกที่มีการค้นพบว่าบริเวณขั้วโลกใต้ในฤดูใบไม้ผลิได้เกิดรูรั่วของบรรยากาศชั้นโอโซนขึ้น โดยมีสาเหตุจากสารสังเคราะห์จำพวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือ CFCs องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติจึงผลักดันให้มีการลงนามใน อนุสัญญาเวียนนา ว่าด้วยการพิทักษ์ชั้นโอโซน ในปี พ.ศ. 2528 ต่อมาได้มีข้อกำหนดที่เกิดขึ้น เมือ พ.ศ. 2530 ณ นครมอนทรีออล ว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน ใที่เรียกว่า พีธีสารมอนทรีออล โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก แต่ตั้งปี พ.ศ. 2532 และได้มีการจัดตั้งหน่วยอนุรักษ์โอโซนในอุตสาหกรรมทั้งภาคผลิตและภาคการยริการ โดยจัดทำแผนงานเลิกการใช้สารทำลายโอโซน และจัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในแต่ละอุตสาหกรรม รวมถึงมาตรการควบคุม และลดปริมาณการนำเข้าสารทำลาชั้นโอโซนและประสานงานกับหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเทคโนโลยีทดแทน ในปี พ.ศ. 2540 ได้เกิด พิธีสารโตเกียว ขึ้นโดยมีการกำหนดให้ประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้ว ต้องมีการลดปริมาณก๊าชเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ไได้แก่ ก๊าชคาร์บอนได้ออกไซต์ (CO2) ก๊าชมีเทน (CH4) ก๊าชไนตรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าชไฮโดรฟูโอคาร์บอน (HFCs) ก๊าชเปอร์ฟลูโรคาร์บอน (CFCs) และก๊าชซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ (SF6) โดนรณรงค์ให้ทั่วโลกหันมาใช้ พลังงานสะอาด (Glean Energy) หรือพลังงานทดแทนจากธรรมชาติ เพื่อเป็นการลดการปล่อยก๊าชเรื่อนกระจกโดยเฉพาะกา๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ออกสู่สิ่งแวดล้อมให้้น้อยลงโดยรณรงค์ให้ลดลงเฉลี่ยลดน้อยละ 5.2 จากระดับที่ประเทศ

พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
ความเป็นมาของพิธีสารเกียวโต
ในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 1 (COP-1) ในปี พ.ศ. 2538 ที่ประชุมเห็นสมควรที่จะเร่งรัดการอนุวัติตามพันธกรณีของประเทศในภาคผนวกที่ 1 ให้บรรลุตามเป้าหมายสูงสุดของอนุสัญญาฯ จึงมีมติให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ (Ad Hoc Group on the Berlin Mandate:AGBM)ร่างข้อตกลงขึ้นใหม่เพื่อให้มีการบังคับ ให้อนุวัตตามพันธกรณี คณะทำงานได้ทำการยกร่างข้อตกลงดังกล่าวเป็นเวลา 2 ปีครึ่งและได้มีการนำเสนอในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีสมัยที่ 3 (COP-3) ในปี พ.ศ. 2540 และประเทศภาคีมีมติรับรองพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ในการประชุมครั้งนั้น
หลักการที่สำคัญของพิธีสารเกียวโต
1. พิธีสารเกียวโตได้กำหนดข้อผูกพันทางกฎหมาย (Legal binding) ไว้ในกรณีดำเนินการตามพันธกรณี โดยมาตรา 3 ได้กำหนดพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศภาคีในภาคผนวกที่ 1 โดยรวมแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จากระดับการปล่อยโดยรวมของกลุ่มในปี พ.ศ. 2533 ภายในช่วงพ.ศ. 2551-2555 โดยที่ปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น ร้อยละ 8 ของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปี พ.ศ. 2533 สำหรับกลุ่มประเทศประชาคมยุโรป ร้อยละ 10 สำหรับประเทศไอซ์แลนด์ ร้อยละ 6 สำหรับประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
2. มาตรา 3 กำหนดชนิดของก๊าซเรือนกระจกที่ควบคุมภายใต้พิธีสารเกียวโต 6 ชนิด คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PCFs) และซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ (SF6) โดยกำหนดการลดก๊าซเหล่านี้ให้คิดเทียบเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 equivalent)
3. กำหนดพันธกรณีเพิ่มเติมให้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว และไม่มีการเพิ่มพันธกรณีใดๆให้กับประเทศกำลังพัฒนา
4. มาตรา 18 ของพิธีสารได้กำหนดให้มีขั้นตอนและกลไกในการตัดสิน และดำเนินการลงโทษในกรณีที่ประเทศภาคีไม่ดำเนินการตามพันธกรณีที่กำหนด
5. เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิธีสารเกียวโตได้กำหนดกลไกยืดหยุ่น (Flexibility Mechanisms) ขึ้น 3 กลไก ดังนี้

กลไกการทำโครงการร่วม (Joint Implementation, JI) ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6 ซึ่งกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้ว สามารถดำเนินโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกันเองระหว่างประเทศในกลุ่ม ภาคผนวกที่ 1 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ เรียกว่า ERUs (Emission Reduction Units)

กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism, CDM) ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 12 ซึ่งกำหนดให้ประเทศในภาคผนวกที่ 1 สามารถดำเนินโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศในกลุ่ม Non-Annex I ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ จะต้องผ่านการรับรอง จึงเรียกว่า CERs (Certified Emission Reduction)

กลไกการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading, ET) ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 17 ซึ่งกำหนดให้ประเทศในภาคผนวกที่ 1 ที่ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศตามที่กำหนดไว้ได้ สามารถซื้อสิทธิ์การปล่อยจากประเทศในภาคผนวกที่ 1 ด้วยกันเอง ที่มีสิทธิ์การปล่อยเหลือ (อาจเป็นเครดิตที่เหลือจากการทำโครงการ JI และ CDM หรือ สิทธิ์การปล่อยที่เหลือเนื่องจากระบบเศรษฐกิจทำให้ปริมาณการปล่อยในปัจจุบันน้อยกว่าปริมาณการปล่อยเมื่อปี ค.ศ. 1990 จึงมีสิทธิ์การปล่อยเหลือพร้อมที่จะขายได้) เรียกสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะซื้อขายกันนี้ว่า AAUs (Assigned Amount Units)

พันธกรณีของประเทศไทยภายใต้พิธีสารเกียวโต
ประเทศไทยได้ลงนามรับรองพิธีสารเกียวโต เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ในฐานะภาคีสมาชิกในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จึงไม่มีพันธกรณีใดๆ ภายใต้พิธีสารเกียวโต ยกเว้นมาตรา 10 ซึ่งกำหนดให้ทุกภาคีร่วมรับผิดชอบดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามขีดความสามารถและสถานการณ์ของแต่ละประเทศด้วยความสมัครใจ และมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด แต่ไม่มีพันธกรณีที่จะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงพันธกรณีแรก พ.ศ. 2551-2555 (ค.ศ.2008-2012) เหมือนกับประเทศในภาคผนวกที่ 1

การดำเนินงานของประเทศไทยตามข้อผูกพัน
เนื่องจากพิธีสารเกียวโตยังไม่มีผลบังคับใช้ และประเทศไทยไม่มีพันธกรณีในจำนวนปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงพันธกรณีแรก ประเทศไทยได้จัดทำรายงานแห่งชาติตามเงื่อนไขของพันธกรณี ซึ่งในขณะนี้กำลังเตรียมการที่จะจัดทำรายงานแห่งชาติในรอบต่อไป นอกจากนี้ประเทศไทยกำลังเตรียมการจัดตั้ง NACDM (National Authority for CDM) หากประเทศไทยประสงค์ที่จะเข้าร่วมดำเนินการโครงการ CDM โดยมีสำนักความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยประสานงาน

source: http://www.jgsee.kmutt.ac.th/greenhouse/unfccc/unfccc.php